Friday, March 13, 2009

มุมมองความสุขจากโลกตะวันตก

โดย กนกพร นิตย์นิธิพฤทธิ์

งานศึกษาที่ผ่านมา ความสุข (Happiness) ถูกศึกษาและเรียกแทนว่า Subjective well-being หรือ ความกินดีอยู่ดีเชิงอัตวิสัย ในมุมมองทางจิตวิทยา เราสามารถมองความสุขใน 2 มุมมอง คือ อารมณ์ความรู้สึก (Affect) และการเรียนรู้ (Cognition) โดยในส่วนของอารมณ์ความรู้สึก (Affect) จะเป็นการมองแบบปฏิกิริยาทางอารมณ์เมื่อคนแสดงออกและสิ่งนั้นถูกเรียกว่า พฤติกรรมของการมีความสุข โดยสิ่งนี้จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ (emotions) และสภาวะทางอารมณ์ (moods) ซึ่งเป็นประสบการณ์ชั่วคราว (Temporal Experience) ขณะที่ การเรียนรู้ (Cognition) คือกระบวนการตีความเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการออกทางอารมณ์ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ หรือสถานการณ์นั้นๆ โดยการตีความของบุคคลนี้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เนื่องจากขึ้นอยู่กับประสบการณ์เบื้องหลังของคนแต่ละคนที่ทำให้เขาเหล่านั้นเรียนรู้เหตุการณ์/สถานการณ์เดียวกันกับการตีความคล้ายกันหรือแตกต่างกันออกไป และสิ่งนี้เองที่ทำให้คนแต่ละคนแสดงออกในอารมณ์ความรู้สึกที่ยินดี/พึงพอใจ/มีความสุข หรือไม่ยินดี/ไม่พึงพอใจ/มีความทุกข์ต่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์เดียวกันแตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการเรียนรู้ (Cognition) เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกทางอารมณ์ของแต่ละคน (Affect)

ในการศึกษาของ Frey และ Stutzer ในปี 2545 ได้แบ่งการอธิบายความสุข ใน 2 รูปแบบ คือ ความสุขแบบภาวะวิสัย (Objective Happiness) และความสุขแบบอัตวิสัย (Subjective Happiness) ตามกลไกความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของความสุขทั้งสองรูปแบบนี้ (ดังรูปด้านล่าง)


อ้างอิงจาก Frey และ Stutzer (2002), หน้า 4

ความสุขแบบภาวะวิสัยเป็นการวัดความสุขจากวิธีการวัดของสรีรวิทยา เช่น การวัดคลื่นความถี่ของสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ แนวคิดนี้จะใกล้เคียงกับแนวคิด hedonometer ที่เป็นการวัดอรรถประโยชน์แบบหน่วยนับ (Cardinal Utility) ขณะที่การวัดความสุขแบบอัตวิสัยจะใช้วิธีการทางจิตวิทยา ที่เรียกว่า การประเมินตนเองในภาพรวม (Global Self-Report) เป็นวิธีการประเมินความสุขหรือความพึงพอใจในชีวิตของคนแต่ละคนด้วยตนเองว่า ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่ผ่านมา เขาคิดว่า ตัวเองมีความพึงพอใจ/มีความสุขต่อชีวิตในภาพรวม/ประเด็นต่างๆ อย่างไร โดยความสุขในสองรูปแบบนี้ จะมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอยู่ เพราะมนุษย์เราจะมีกระบวนการเรียนรู้ต่อเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ ว่า เหตุการณ์/สถานการณ์ใดที่ทำให้เรามีความสุข แล้วเราจะแสดงออกหรือมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อเหตุการณ์/สถานการณ์่นั้นว่า เรามีความสุข โดยการยิ้ม หัวเราะ ขณะเดียวกัน สถานการณ์/เหตุการณ์ที่ทำให้เรายิ้ม หัวเราะ หรือพึงพอใจนั้น ก็จะทำให้เราเรียนรู้ว่า สถานการณ์/เหตุการณ์แบบนั้น ได้ทำให้เรามีความพึงพอใจ มีความสุข เป็นต้น โดยเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ถูกใช้ในการวัดประเมินที่เหตุการณ์/สถานการณ์ต่างๆ เรียกว่า Experienced Sampling Measure คือ การสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรม/เหตุการณ์/สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงจุดเวลาหนึ่งๆ ว่า คุณมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม/เหตุการณ์/สถานการณ์นั้นๆ มากน้อยเพียงใด ในบางครั้ง อาจมีการเรียกวิธีการนี้ในชื่อเรียกอื่นๆ เช่น Day Reconstruction Method

นอกจากนี้ กลไกทางจิตวิทยาได้เข้ามามีบทบาทในการอธิบายความสุข การกินดีอยู่ดีเชิงอัตวิสัย ประกอบด้วย

- ความคาดหวัง (Aspiration) หรือที่เรียกว่า Satisfaction Treadmill อธิบายว่า การรายงานความสุขหรือความพึงพอใจในชีวิตจะมีความสัมพันธ์ที่ผกผันกับระดับความคาดหวัง

- การปรับตัว หรือความสามารถในการปรับตัว (Adaptation) อธิบายว่า ความสามารถในการปรับตัวของบุคคลต่อสถานการณ์/เหตุการณ์ต่างๆ ได้ดีนั้น จะช่วยให้เราความสามารถในการปรับระดับความพึงพอใจในชีวิตได้ดีเช่นกัน

- การเปรียบเทียบกับสังคม (Social Comparison) คือ ความพยายามอธิบายเชิงสัมพัทธ์ (Relative) ว่า คนจะมีการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ กับผู้อื่นที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันเสมอ ดังนั้น บางสถานการณ์ดีๆ เช่น การได้ปรับขึ้นเงินเดือนนั้น อาจจะทำให้เรามีความสุขที่เพิ่มขึ้นไม่มาก หากจำนวนเงินเดือนที่ปรับขึ้นของเรานั้น น้อยกว่าคนอื่นๆ เป็นต้น

Testing Happiness Framework based on Western and Eastern Thoughts: A Case Study of Bangkok

Kanokporn Nitnitiphrut

n_kanokporn@yahoo.com

Forthcoming Chulalongkorn Journal of Economics

Abstract

Human happiness cannot be explained by only their material achievements, since happiness is complex and individually different. The environment is one factor that can create differences in a human’s happiness, leading to differences in their cognition. There are several theories that explain the happiness of humans beyond material prosperity, most notably Buddhist Economics and experienced utility.

The study adapts Buddhist Economics as one of its main frameworks, since it focuses on the idea that balance can be achieved in three aspects – man, mind and environment, also known as the Balance Concept. For this study, the aspect of man, or physical state, is explored in form of the happiness model that is constructed from the survey and employed a self-reported method as the main methodology. This study also considers the aspect of mind as the defining factor in explaining the relationship between ideas and attitudes of individuals toward the question of happiness in order to understand whether different attitudes and perceptions have any effect on happiness. Finally, the environmental aspect can be separated into two divergent perspectives - firstly, the environment defined in social terms such as society, community and family; and, secondly, the environment that is defined in terms of natural resources, which are considered in accordance with information from Living Planet Index in order to provide a general picture of environmental aspect in physical term.